วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สัปดาห์ที่ 6

8 ธันวาคม 52 -11 ธันวาคม 52 ทำการส่งเมลล์ในระบบ HRSS ,WEB3270,ERM,TRENSENT,COMS,B-BOSS
จัดเรียงเอกสาร REQUSEST เดือนมกราคม - ธันวาคม 51,52 เข้าแฟ้มงานจัดให้ผู้บริหารเซ็น
ลงทะเบียน Information Security Department ใน Data Best
สืบค้นรายชื่อพนักงานที่ทำการขอ User Id ของระบบต่าง ๆ เช่น SD ,WEB3270
ความรู้ที่ได้เพิ่มเติม เรื่อง ERM คือการเรียกข้อมูลของการเปิดบัญชีและปิดบัญชี

ปัญหาที่พบ
พบ สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์ที่หยุดต่อเนื่องทำให้การทำงานไม่ต่อเนื่อง และ user มีปัญหามาก เช่นเรื่องโปรแกรมที่ใช้ มีปัญหาเรื่องระบบล็อค

วันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สัปดาห์ที่ 5

วันที่ 30 พ.ย. - 4 ธ.ค. 52
แก้ปัญหาให้กับ user ส่งเมลล์ในระบบ HRSS ,WEB3270,ERM,TRENSENT,COMS,B-BOSS
จัดเรียงเอกสาร REQUSEST เดือนมกราคม - ธันวาคม 51,52 เข้าแฟ้มงานจัดให้
ผู้บริหารเซ็น ลงทะเบียน Information Security Department ใน Data Best
สืบค้นรายชื่อพนักงานที่ทำการขอ User Id ของระบบต่าง ๆ เช่น SD ,WEB3270
ค้นหาเอกสารประจำปี 52 ถ่ายเอกสาร สร้าง user id ของพนักงานใหม่ในระบบ Erm coms moter car lotusnote

ปัญหาที่พบ

มีการขอ user มาและไม่ได้มีการขอเซ็นอนุมัติ
มีปัญหาเรื่องโปรแกรมค้างทำให้ทำงานช้าบางเวลา

วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สัปดาห์ที่ 4

วันที่ 23 พ.ย. - 27 พ.ย. 52
ทำการส่งเมลล์ในระบบ HRSS ,WEB3270,ERM,TRENSENT,COMS,B-BOSS
จัดเรียงเอกสาร REQUSEST เดือนมกราคม - ธันวาคม 51,52 เข้าแฟ้มงานจัดให้ผู้บริหารเซ็น
ลงทะเบียน Information Security Department ใน Data Best
สืบค้นรายชื่อพนักงานที่ทำการขอ User Id ของระบบต่าง ๆ เช่น SD ,WEB3270

ปัญหาที่พบ

ลำดับที่ไม่ได้ทำการเรียงลำดับไว้ทำให้ค้นหารายชื่อยาก
การลงทะเบียนมีการจัดทำหลายเครื่องทำให้ลำดับที่ซ้ำกัน ทำให้เครื่อง Error

การแก้ปัญหา

ทำการจัดเรียงลำดับเลขที่เอกสาร เรียงเดือน ทำให้หาเอกสารง่ายขึ้น
การลงทะเบียนต้องทำทีละรายการและแบ่งกันทำ

วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สัปดาห์ที่ 3

สัปดาห์ที่ 3 16 พ.ย. - 20 พ.ย. 52

ทุกวันไปทำงานงานก้อเหมือนเดิมคือตอนเช้ามีรับโทรศัพท์แก้ปัญหาให้ user และใช้งานระบบ sd ad transect web3270 b-boss moter car coms hr legel ซึ่งโปรแกรมเหล่านี้ต่างเป็นโปรแกรมที่ปลดล็อคให้กับ userของพนักงานทหารไทยทั้งสิ้น

ส่วนงานที่เพิ่มมาก็คือการใช้ระบบ ERM เป็นระบบเรียกดูรายงานของ user ทั้งหมดและระบบ Domino Maill เป็นระบบที่ใช้เรียกดูเมลล์กลางและเมลล์ส่วนตัวของ user และทำการยกเลิกระบบ On Demand Disible ประมาณ 1500 user ซึ่งระบบนี้ถูกยกเลิกและได้ใช้ระบบERM แทนการเรียกรายงานทั้งหมด และพี่ ๆ ได้สอนการ Add user ระบบ Coms,Legal ,Transect Printing

ปัญหาที่พบคือในสัปดาห์นี้เรื่องไดร์ฟ A มีปัญหาคือหาไดร์ฟไม่เจอแล้วบางครั้งเราตอบคำถามไม่ได้ต้องส่งเรื่องต่อให้กับพี่ ๆ แต่พอเจอปัญหาบ่อย ๆ ทำให้เราเรียนรู้และตอบปัญหากับ user ได้บ้าง

วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สัปดาห์ที่ 2

9-13 พ.ย. 52

เริ่มงานวันจันทร์ก็ราบรื่นดีทุกอย่าง พี่ ๆ ที่ฝ่ายเป็นกันเอง ทำให้มีความรู้สึกดีอยากมาทำงานไม่น่าเบื่ออย่างที่คิดไว้ตอนแรก
ทุกวันไปทำงานงานก้อเหมือนเดิมคือตอนเช้ามีรับโทรศัพท์แก้ปัญหาให้ user และใช้งานระบบ sd ad transect web3270 b-boss
moter car coms hr legel ซึ่งโปรแกรมเหล่านี้ต่างเป็นโปรแกรมที่ปลดล็อคให้กับ userของพนักงานทหารไทยทั้งสิ้น
ปัญหาที่พบคือบางครั้งคอมค้างทำให้ทำงานล่าช้าบ้าง พอถึงตอนเย็นก็เซ็นชื่อกลับ

วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สัปดาห์ที่ 1 (ฝึกงาน)

ธนาคารทหารไทย (สำนักงานใหญ่)
ปฏิบัติการความปลอดภัยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
(Information System security Administration ISA)

สัปดาห์ที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 2 พฤษศจิกายน 2552 ถึงวันที่ 6 พฤษจิกายน 2552

เริ่มงานวันแรก ก็ต้องเจอกับพี่กฤษดา ที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคล และได้เข้าการปฐมนิเทศในช่วงเช้า จากนั้นก็แยกย้ายกันไปตามฝ่ายที่ได้รับหน้าที่ ฝ่ายของกระผมอยู่ฝ่าย ISA ได้เริ่มงานเลยโดยพี่ ๆ ได้สอนงานให้เป็นอย่างดี ไม่มีปัญหา อุปสรรคใด ๆ ผู้ที่ดูแลคือ พี่หมู พี่โบว์ พี่โหน่ง พี่สมศักดิ์ และมีหัวหน้าคือ พี่มานะ

วันที่ 2 มาถึงตอนเช้าเซ็นชื่อเข้าทำงานและพี่ ๆ ได้สอนงานการใช้ระบบ HR ,AD ให้ช่วยปลดล็อคระบบต่าง ๆ ที่ Userได้ทำล็อคไว้ แล้วตอนเย็นก็เซ็นชื่อกลับบ้าน

วันที่ 3 มาถึงตอนเช้าเซ็นชื่อเข้าทำงานพี่ ๆ สอนการใช้ระบบSD และ WEB3270 และรับโทรศัพท์เพื่อแก้ปัญหาให้กับ User แล้วตอนเย็นก็เซ็นชื่อกลับบ้าน

วันที่ 4 มาถึงตอนเช้าเซ็นชื่อเข้าทำงานพี่ ๆ สอนการใช้ระบบ B-BOOS และระบบ Transact รับโทรศัพท์เพื่อแก้ปัญหาให้กับ User แล้วตอนเย็นก็เซ็นชื่อกลับบ้าน

วันที่ 5 มาถึงตอนเช้าเซ็นชื่อเข้าทำงานพี่ ๆ สอนการใช้ระบบ Moter car และระบบ Coms รับโทรศัพท์เพื่อแก้ปัญหาให้กับ User แล้วตอนเย็นก็เซ็นชื่อกลับบ้าน

วันที่ 6 มาถึงตอนเช้าเซ็นชื่อเข้าทำงาน รับโทรศัพท์เพื่อแก้ปัญหาให้กับ User วันนี้แก้ปํญหาให้กับUser ทุกระบบที่พี่ ๆ ได้สอน แล้วตอนเย็นก็เซ็นชื่อกลับบ้าน

หมายเหตุ พี่ ๆ ที่ทำงานทุกคนดีกับพวกเรามากเอาขนมมาให้กินตลอด เวลาสอนงานก็สอนดี ไม่หยิ่ง เวลางานผิดพลาดพี่ ๆ ก็คอยแนะนำด้วยคำพูดดี ๆ เสมอประทับใจครับ

วันพุธที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2552

กลไกการทำงานของซีพียู

กลไกการทำงานของซีพียู
การทำงานของคอมพิวเตอร์ ใช้หลักการเก็บคำสั่งไว้ที่หน่วยความจำ ซีพียูอ่านคำสั่งจากหน่วยความจำมาแปลความหมายและกระทำตามเรียงกันไปทีละคำสั่ง หน้าที่หลักของซีพียู คือควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ ตลอดจนทำการประมวลผล
กลไกการทำงานของซีพียู มีความสลับซับซ้อน ผู้พัฒนาซีพียูได้สร้างกลไกให้ทำงานได้ดีขึ้น โดยแบ่งการทำงานเป็นส่วน ๆ มีการทำงานแบบขนาน และทำงานเหลื่อมกันเพื่อให้ทำงานได้เร็วขึ้น
การพัฒนาซีพียูก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และถูกพัฒนาให้อยู่ในรูปไมโครชิบที่เรียกว่าไมโครโพรเซสเซอร์ ไมโครโพรเซสเซอร์จึงเป็นหัวใจหลักของระบบคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ถึงไมโครคอมพิวเตอร์ ล้วนแล้วแต่ใช้ไมโครชิปเป็นซีพียูหลัก ในเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ เช่น ES9000 ของบริษัทไอบีเอ็มก็ใช้ไมโครชิปเป็นซีพียู แต่อาจจะมีมากกว่าหนึ่งชิปประกอบรวมเป็นซีพียู
เทคโนโลยีไมโครโพรเซสเซอร์ได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยเริ่มจากปี พ.ศ. 2518 บริษัทอินเทลได้พัฒนาไมโครโพรเซสเซอร์ที่เป็นที่รู้จักกันดีคือ ไมโครโพรเซสเซอร์เบอร์ 8080 ซึ่งเป็นซีพียูขนาด 8 บิต ซีพียูรุ่นนี้จะรับข้อมูลเข้ามาประมวลผลด้วยตัวเลขฐานสองครั้งละ 8 บิต และทำงานภายใต้ระบบปฎิบัติการซีพีเอ็ม (CP/M) ต่อมาบริษัทแอปเปิ้ลก็เลือกซีพียู 6502 ของบริษัทมอสเทคมาผลิตเป็นเครื่องแอปเปิ้ลทู ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในยุคนั้น
เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยส่วนมากเป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ซีพียูของตระกูลอินเทลที่พัฒนามาจาก 8088 8086 80286 80386 80486 และเพนเตียม ตามลำดับ
การพัฒนาซีพียูตระกูลนี้เริ่มจาก ซีพียูเบอร์ 8088 ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2524 มีการพัฒนาเป็นซีพียูแบบ 16 บิต ที่มีการรับข้อมูลจากภายนอกทีละ 8 บิต แต่การประมวลผลบวกลบคูณหารภายในจะกระทำทีละ 16 บิต บริษัทไอบีเอ็มเลือกซีพียูตัวนี้เพราะอุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ ในสมัยนั้นยังเป็นระบบ 8 บิต คอมพิวเตอร์รุ่นซีพียู 8088 แบบ 16 บิตนี้เรียกว่า พีซี และเป็นพีซีรุ่นแรก
ขีดความสามารถของซีพียูที่จะต้องพิจารณา นอกจากขีดความสามารถในการประมวลผลภายใน การับส่งข้อมูลระหว่างซีพียูกับอุปกรณ์ภายนอกแล้ว ยังต้องพิจารณาขีดความสามารถในการเข้าไปเขียนอ่านในหน่วยความจำด้วย ซีพียู 8088 สามารถเขียนอ่านในหน่วยความจำได้สูงสุดเพียง 1 เมกะไบต์ (ประมาณหนึ่งล้านไบต์) ซึ่งถือว่ามากในขณะนั้น
ความเร็วของการทำงานของซีพียูขึ้นอยู่กับการให้จังหวะที่เรียกว่า สัญญาณนาฬิกาซีพียู 8088 ถูกกำหนดจังหวะด้วยสัญญาณนาฬิกาที่มีความเร็ว 4.77 ล้านรอบใบ 1 วินาทีหรือที่เรียกว่า 4.77 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) ซึ่งปัจจุบันถูกพัฒนาให้เร็วขึ้นเป็นลำดับ
ไมโครคอมพิวเตอร์รุ่นพีซีได้รับการพัฒนาเพิ่มเติมฮาร์ดดิสก์ลงไปและปรับปรุงซอฟต์แวร์ระบบและเรียกชื่อรุ่นว่า พีซีเอ็กซ์ที (PC-XT)
ในพ.ศ. 2527 ไอบีเอ็มเสนอไมโครคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ที่ทำงานได้ดีกว่าเดิม โดยใช้ชื่อรุ่นว่า พีซีเอที (PC-AT) คอมพิวเตอร์รุ่นนี้ใช้ซีพียูเบอร์ 80286 ทำงานที่ความเร็วสูงขึ้นคือ 6 เมกะเฮิรตซ์
การทำงานของซีพียู 80286 ดีกว่าเดิมมาก เพราะรับส่งข้อมูลกับอุปกรณ์ภายในเป็นแบบ 16 บิตเต็ม การประมวลผลก็เป็นแบบ 16 บิต ทำงานด้วยความเร็วของจังหวะสัญญาณนาฬิกาสูงกว่า และยังติดต่อเขียนอ่านกับหน่วยความจำได้มากกว่า คือ ติดต่อได้สูงสุด 16 เมกะไบต์ หรือ 16 เท่าของคอมพิวเตอร์รุ่นพีซี
พัฒนาการของเครื่องพีซีเอทีทำให้ผู้ผลิตอื่นออกแบบเครื่องคอมพิวเตอร์ตามอย่างไอบีเอ็มโดยเพิ่มขีดความสามารถเฉพาะของตนเองเข้าไปอีก เช่น ใช้สัญญาณนาฬิกาสูงเป็น 8 เมกะเฮริตซ์ 10 เมกะเฮิรตซ์ จนถึง 16 เมกะเฮิรตซ์ ไมโครคอมพิวเตอร์บนรากฐานของพีซีเอทีจึงมีผู้ใช้กันทั่วโลก ยุคนี้จึงเป็นยุคที่ไมโครคอมพิวเตอร์แพร่หลายอย่างเต็มที่
ในพ.ศ. 2529 บริษัทอินเทลประกาศตัวซีพียูรุ่นใหม่ คือ 80386 หลายบริษัทรวมทั้งบริษัทไอบีเอ็มเร่งพัฒนาโดยนำเอาซีพียู 80386 มาเป็นซีพียูหลักของระบบ ซีพียู 80386 เพิ่มเติมขีดความสามารถอีกมาก เช่น รับส่งข้อมูลครั้งละ 32 บิต ประมวลผลครั้งละ 32 บิต ติอต่อกับหน่วยความจำได้มากถึง 4 จิกะไบต์ (1 จิกะไบต์เท่ากับ 1024 บ้านไบต์) จังหวะสัญญาณนาฬิกาเพิ่มได้สูงถึง 33 เมกะเฮิรตซ์ ขีดความสามารถสูงกว่าพีซีรุ่นเดิมมาก และใน พ.ศ. 2530 บริษัทไอบีเอ็มเริ่มประกาศขายไมโครคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ที่ชื่อว่า พีเอสทู (PS/2) โดยมีโครงสร้างทางฮาร์ดแวร์ของระบบแตกต่างออกไปโดยเฉพาะระบบเส้นทางส่งถ่ายข้อมูลภายใน (bus)
ผลปรากฎว่า เครื่องคอมพิวเตอร์รุ่น 80386 ไม่เป็นที่นิยมมากนัก ทั้งนี้เพราะยุคเริ่มต้นของเครื่องคอมพิวเตอร์ 80386 มีราคาแพงมาก ดังนั้นในพ.ศ. 2531 อินเทลต้องเอาใจลูกค้าในกลุ่มเอทีเดิม คือลดขีดความสามารถของ 80386 ลงให้เหลือเพียง 80386SX
ซีพียู 80386SX ใช้กับโครงสร้างเครื่องพีซีเอทีเดิมได้พอดีโดยแทบไม่ต้องดัดแปลงอะไร ทั้งนี้เพราะโครงสร้างภายในซีพียูเป็นแบบ 80386 แต่โครงสร้างการติดต่อกับอุปกรณ์ภายนอกใช้เส้นทางเพียงแค่ 16 บิต ไมโครคอมพิวเตอร์ 80386SX จึงเป็นที่นิยมเพราะมีราคาถูกและสามารถทดแทนเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นพีซีเอทีได้
ซีพียู 80486 เป็นพัฒนาการของอินเทลใน พ.ศ. 2532 และเริ่มใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ในปีต่อมา ความจริงแล้วซีพียู 80486 ไม่มีข้อเด่นอะไรมากนัก เพียงแต่ใช้เทคโนโลยีการรวมชิป 80387 เข้ากับซีพียู 80386 ซึ่งชิป 80387 เป็นหน่วยคำนวณทางคณิตศาสตร์ และรวมเอาส่วนจัดการหน่วยความจำเข้าไว้ในชิป ทำให้การทำงานโดยรวมรวดเร็วขึ้นอีก
ในพ.ศ. 2535 อินเทลได้ผลิตซีพียูตัวใหม่ที่มีขีดความสามารถสูงขึ้น ชื่อว่า เพนเตียม การผลิตไมโครคอมพิวเตอร์จึงได้เปลี่ยนมาใช้ซีพียูเพนเตียม ซึ่งเป็นซีพียูที่มีขีดความสามารถเชิงคำนวณสูงกว่าซีพียู 80486 มีความซับซ้อนกว่าเดิม และใช้ระบบการส่งถ่ายข้อมูลได้ถึง 64 บิต
การพัฒนาทางด้านซีพียูเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ไมโครโพรเซสเซอร์รุ่นใหม่จะมีโครงสร้างที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น ใช้งานได้ดีมากขึ้น และจะเป็นซีพียูในรุ่นที่ 6 ของบริษัทอินเทล โดยมีชื่อว่า เพนเตียมทู